วิธีอนุรักษ์พลังงานในอาคาร อาคารอนุรักษ์พลังงานต้นแบบ ไทยและต่างประเทศ
การอนุรักษ์พลังงานในอาคารคืออะไร การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร คือการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย
การอนุรักษ์พลังงาน เป็นวัตถุประสงค์หลักภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายคือ อาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูล บุคลากร แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ ยังใช้เป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้และมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามพระราช บัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 นั้น จะถูกเรียกว่า "อาคารควบคุม" หรือ "โรงงานควบคุม" แล้วแต่กรณี โดยจะเน้นไปที่อาคารและโรงงานที่มีการใช้พลังงานในปริมาณที่มากและมีศักยภาพ ในการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะประกาศออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมมาใช้บังคับอาคารหรือโรงงานจะเข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมนั้น จะต้องมีลักษณะการใช้พลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายไฟฟ้าให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตตขึ้นไปหรือติดตั้งหม้อแปลงตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมี ขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือ
2.มีการใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อน จากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปี ที่ผ่านมามีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้าน เมกะจูนขึ้นไป
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
http://www2.dede.go.th/bhrd/displaycenter/index.php
วิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบริเวณที่ตั้งอาคาร และกรอบอาคาร ประสิทธิภาพของระบบและการควบคุม การบริหารหรือการจัดการด้านพลังงาน ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
1. การลดความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร
2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร
3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ
4. การให้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การใช้และการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร
6. การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ทำลิงค์ไปที่ file : Bay38 Building Features.pdf
2. http://www.2e-building.com/detail.php?id=40
อาคารอนุรักษ์พลังงานต้นแบบไทยและต่างประเทศ
จากวิกฤติปัญหาโลกร้อนทำให้ปัจจุบันประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้ในอนาคตแนวโน้มของการออกแบบอาคารจะมุ่งเน้นไปที่อาคารอนุรักษ์พลังงาน หรืออาคารเขียวกันมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อาคารที่สร้างเสร็จแล้วจะมีการประหยัดพลังงานหรือประหยัดทรัพยากรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมบริเวณรอบอาคารให้ร่มรื่น เย็นสบาย การเลือกรูปทรงอาคาร และการใช้ประโยชน์จากปัจจัยธรรมชาติให้เกิดการประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง รวมถึงการใช้ระบบและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งหากท่านกำลังจะสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงอาคารเดิมที่มีอยู่แล้วและกำลังมองหาตัวอย่างอาคารต้นแบบก็มีหลายอาคารที่จะเป็นที่ดีให้กับท่านได้ เช่น
1. อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ
อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระ เกียรติ เป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้งานขนาด14,000 ตารางเมตร ที่เน้นแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์พลังงานซึ่งได้รับการออกแบบอย่างเป็น เอกลักษณ์อันโดดเด่น มีความน่าสนใจในด้านถาปัตยกรรมที่สามารถจูงใจให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยว ข้องไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก วิศวกร เจ้าของอาคาร ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้หันมาอนุรักษ์พลังงาน อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติเป็นอาคารตัวอย่างที่ผุ้สนใจสามารถมา ศึกษา สัมผัสจับต้องได้ เพื่อพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆ ที่นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบว่าสามารถปฏิบัติได้จริง
http://www2.dede.go.th/bhrd/displaycenter/
2. อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
“สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาองค์การให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางด้านพลังงาน มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นแหล่งวิจัย ค้นคว้า และให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อสร้างประโยชน์ต่อประเทศ
http://www.erdi.or.th/index.php?r=content/index&id=23
3. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้รับการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทันสมัย และสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ด้วยการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผสมผสานธรรมชาติเข้ากับการออกแบบ ได้อย่างลงตัว ตอบสนองความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงาน และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความเหมาะสม ขณะเดียวกันก็สามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ทั้งระหว่างหน่วยงานเอง และระหว่างหน่วยงานกับประชาชนได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญคืออาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน สนับสนุนการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตลอดจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วนของการออกแบบและการใช้ระบบ Co-Generation ด้วย
http://www.governmentcomplex.com
4. Energy Complex อาคารประหยัดพลังงานแห่งใหม่ของกลุ่ม ปตท.
ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัทปตท. ได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารยั่งยืน และมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมเน้นไปที่เรื่องของการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงานเป็นสำคัญ
http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=146&cno=52
5. อาคารพลังงานศูนย์ที่สิงคโปร์
วงการสถาปนิกสิงคโปร์ถือว่าอาคารนี้เป็นตัวอย่างของอาคารระดับชั้นยอดด้านประหยัดพลังงาน อีกทั้งเป็นอาคารเชิงทดสอบทดลอง โดยมีการนำเทคโนโลยีด้านประหยัดพลังงานเกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้สร้างอาคารหลังนี้ ทั้งนี้สถาปนิกผู้ออกแบบเน้นให้อาคารใช้พลังงานจากธรรมชาติโดยตรงให้มากที่สุด มาดูกันว่าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้าง หรือแค่การโกหกคำโตเพื่อสร้างภาพให้ดูดี หรือประเทศสิงคโปร์ทำเรื่องนี้ได้สำเร็จไปแล้วจริงๆกันแน่http://www.archthai.com/home/index.php?/bca.html
6. อาคารมหาวิทยาลัย Yale ประเทศสหรัฐอเมริกา
Sun and rain harvesting hall for Yale University. อาคารนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งประหยัดพลังงานถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 62% และหลังคาสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้เองได้ถึง 26% และ อีก 74% ซื้อจากของนอกมาใช้
http://www.tawiset.kku.ac.th/file_news/news20090907-1.html
7. อาคาร The Chicago Spire แห่งนครชิคาโก้
The Chicago Spire เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ที่ได้รับมาตรฐาน Gold standard of LEED certification ว่าเป็นอาคารสีเขียว ที่มีระบบจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี บรรยากาศภายนอกได้ เรียกว่า Ornithologically-sensitive glass ซึ่งช่วยลดภาวะที่จะกระทบต่อนกอพยพ องค์ประกอบต่างๆทำให้อาคารสามารถลดการใช้พลังานปรกติได้มากถึง 15% จากรูปแบบปรกติ ที่สังเกตได้ชัดเจนคือ การร่นแนวแกนอาคาร ให้เข้าไปอยู่ด้านในวงแหวน ทำให้มีเนื้อที่รับแสงได้อย่างเต็มที่ จนแทบไม่มีผนังปูนด้านนอกตัวอาคารเลย นอกจากนั้น The Chicago Spire ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ติดทะเลสาบชิคาโก้ นำน้ำมาใช้ในระบบทำความเย็นให้แก่ตัวตึก ในส่วนของน้ำฝนนั้น นำมาใช้ดูแลสวนและต้นไม้ ที่จอดรถในชั้นใต้ดิน ใช้ระบบทำความร้อนจากใต้ดิน ในส่วนของน้ำใช้ มีระบบการรีไซค์เคิล และบำบัดก่อนปล่อยสู่ระบบระบายน้ำ เริ่มต้นก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ปี 2007 คาดว่า สามารถเปิดให้เข้าใช้อาคารได้ในปี 2011
http://en.wikipedia.org/wiki/Chicago_Spire
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น