Blogger นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อใช้ในการเรียน และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่เรียน และจัดทำเป็นBlogger เพื่อใช้ในการเรียนวิชาฮินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม


          จากประสบการณ์ที่ผ่านมาภูมิศาสตร์จะถูกเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวในปัจจุบันมากขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการขายทัวร์ที่ต้องการให้ผู้ซื้อบริการสามารถเลือกได้หลายแนวทางซึ่งต่างจากอดีตจะเน้นการท่องเที่ยวในรูปแบบประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะใช้ปัจจัยเชิงพื้นที่มาเป็นตัวแปรหลักของการตลาดและเป็นหลักในการวางแผนและการจัดการเพื่อแข่งขันทางการตลาดกับผู้ประกอบการทัวร์ด้วยกันเอง คุณสมบัติเชิงพื้นที่นี้เองจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการจำแนกประเภททัวร์และการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการจัดหาผู้นำทัวร์ ซึ่งพบว่าบริษัททัวร์ส่วนใหญ่จะไม่เน้นการจัดทัวร์ในรูปแบบธรรมชาติเนื่องจาก การท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีต้นทุนสูงและผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และการท่องเที่ยวในลักษณะธรรมชาติ
นั้นโอกาสที่จะสร้างความประทับใจให้กับลูกทัวร์ค่อนข้างเป็นเรื่องยาก เพราะใช้ธรรมชาติเป็นตัวแปรสำคัญในการทำทัวร์ เช่นบางครั้งฝนตกหนัก พายุเข้า น้ำป่าหลาก ไกด์ไม่ชำนาญเส้นทาง ลูกทัวร์ไม่สามารถท่องเที่ยวได้ ตามโปรแกรม
ที่ท า ง บ ริษัท กำ ห น ด ก็ถือ ว่า บ ริษัท ไ ม่ส า ม า ร ถ ส ร้า ง ค ว า ม ป ร ะ ทับ ใ จ ใ ห้แ ก่ลูก ค้า ไ ด้
ดังนั้น เทคนิคการสร้างความประทับใจและสร้างจุดคุ้มทุนทางการตลาดคือ การนำศาสตร์หลายแขนงมา
ประยุกต์ใช้ร่วมกัน หนึ่งในศาสตร์นั้น คือการใช้ภูมิศาสตร์กับการทำทัวร์ โปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงที่หมายโดยใช้การบรรยายประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตำนาน เรื่องเล่า แต่ตลอดระยะเวลาการเดินทางนั้นระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดเป้าหมายจะเป็นเส้นทางของระบบธรรมชาติหรือระยะทางของธรรมชาติในการอธิบายหรือสร้างความพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างเดินทางคือเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของสถานที่ที่จะไป หรือใช้วิชาสันทนาการเล่าเรื่องนิทาน ตลกโปกฮา หรือทายปัญหาหรือเล่นกิจกรรม ถ้านักท่องเที่ยวเบื่อก็จะให้ทานอาหารว่าง หรือใช้พักผ่อน แท้จริงแล้วระยะทางของธรรมชาติเป็นจุดขายที่สำคัญที่ผู้นำทัวร์มีโอกาสที่จะสร้างความประทับใจโดยการเล่าเรื่องธรรมชาติให้เห็นคุณค่าและ
สร้างความซาบซึ่งจากลักษณะความเป็นเฉพาะตัวของสิ่งที่ปรากฏในพื้นที่นั้น และเรื่องรอบตัวเหล่านี้เองมักจะเป็นคำถามที่นักท่องเที่ยวสนใจและมักจะเป็นคำถามที่นักท่องเที่ยวและมักทำให้มัคคุเทศน์ตกม้าตายมาแล้วหลายคน เพราะเป็นคำภามที่ใช้ความซับซ้นของระบบธรรมชาติมาเป็นประเด็นปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งเคยทำทัวร์ทางทะเลผู้เขียนได้รับคำถามจากลูกทัวร์เกี่ยวกับลักษณะของหาดทรายว่าทำไมหาดทรายที่ประเทศไทยจึงมีสีที่แตกต่างกัน หรือหินที่เกราะเต่าและหมู่เกาะเต่าและหมู่เกาะอ่างทองจึงมีรูปร่างที่แตกต่างกัน ทำไมช่วงบ่ายฝนจึงตกทะเลแถบใต้ คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น หรือแม้แต่การนำเที่ยวทัวร์ประวัติศาสตร์ ลูกทัวร์ก็ยังไม่ทิ้งคำถามเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เช่น อาณาจักรสุโขทัยทำไมไม่สร้างด้วยศิลาแลง อาณาจักรอยุธยาทำไมสร้างด้วยอิฐ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ระบบธรรมชาติเป็นตัวอธิบาย และระยะทางธรรมชาตินี้เองเป็นคำถามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และไม่ได้เป็นกฎที่จะท่องเที่ยวแล้วนำมาเล่าให้ลุกทัวร์ฟังได้
              ดังนั้น ผู้เขียนจึงสรุปว่าการเข้าใจธรรมชาติเป็นพื้นฐานหนึ่งของการจัดการท่องเที่ยว ส่วนการนำวิชาภูมิศาสตร์กายภาพและระบบธรรมชาติมีส่วนสำคัญในการจัดการท่องเที่ยวมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทัวร์อุทยาน เราสามารถนำความรู้ในเรื่องลักษณะภูมิประเทศ เรื่องของดิน หินแร่ เรื่องของพืชพรรณธรรมชาติ สัตว์ป่า เรื่องราวปรากฎการณ์ในบรรยากาศ เรื่องของลมฟ้าอากาศในสภาวะที่ติดตามตัวนักท่องเที่ยวไปทุกที่ เมื่อเราไปถึงจึงจะเกิดคำถาม แต่ระบบธรรมชาติจะติดตัวมัคคุเทศน์ ติดตัวนักท่องเที่ยวไปทุกที่ และสามารถตั้งคำภามได้ตลอดเวลา ผู้เขียนจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวทางภูมิศาสตร์มากกว่าครึ่งหนึ่งของการเดินทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น