ปัจจุบันเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและตื่นตัวต่อกระแสการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น ในการเดินทางไปท่องเที่ยวแต่ละครั้งนอกจากจะมีความประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังควรมีความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งหากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันก็จะเป็นการดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน
แนวคิด/วิธีของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อหนึ่ง เที่ยวด้วยใจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GREEN HEART) ทุกอย่างต้องเริ่มที่ใจ หัวใจที่เคารพในวิถีแห่งธรรมชาติตระหนักและระมัดระวังผลกระทบที่จะตามมาทุกครั้งที่ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ข้อสอง เลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GREEN ACTIVITY) กิจกรรมท่องเที่ยวที่ดีนอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้วจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การเดินป่า พายเรือชมวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ หรือขี่จักรยานศึกษาเส้นทางธรรมชาติ และหากเป็นกิจกรรมที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ทั้งในเชิงนิเวศและเชิงนวัตกรรมก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ข้อสาม เลือกท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว (GREEN COMMUNITY) ไปเรียนรู้และทำความเข้าใจการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เกื้อกูลต่อการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ แทนการไปเที่ยวชมที่เน้นไปทางวัตถุนิยม
ข้อสี่ เลือกการขนส่งสีเขียว (GREEN LOGISTIC) การเดินทางในประเทศและภายในพื้นที่ เลือกวิธีที่ประหยัดพลังงาน หรือใช้พลังงานทดแทน ลดพึ่งพาการใช้รถยนต์ให้น้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็ใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือใช้บริการรถไฟ หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเครื่องบิน
ข้อห้า สนับสนุนบริการสีเขียว (GREEN SERVICE) มองหาโรงแรมที่มีมาตรการประหยัดพลังงาน หรือมีระบบบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ให้ความร่วมมือกับโรงแรมด้วยการประหยัดน้ำ ไม่เปลี่ยนผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนทุกวัน
ข้อหก เยือนแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว (GREEN ATTRACTION) ให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการโดย คำนึงถึงเรื่องการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ หรือช่วยกันเป็นหูเป็นตาร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ที่ที่ไปเยือน
ข้อเจ็ด เพิ่มสีเขียวให้ธรรมชาติ (GREEN PLUS) หาโอกาสทำกิจกรรมคืนความเขียวขจีและความสมบูรณ์สู่สิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า เก็บขยะ และอื่น ๆ
ข้อสอง เลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GREEN ACTIVITY) กิจกรรมท่องเที่ยวที่ดีนอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้วจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การเดินป่า พายเรือชมวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ หรือขี่จักรยานศึกษาเส้นทางธรรมชาติ และหากเป็นกิจกรรมที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ทั้งในเชิงนิเวศและเชิงนวัตกรรมก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ข้อสาม เลือกท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว (GREEN COMMUNITY) ไปเรียนรู้และทำความเข้าใจการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เกื้อกูลต่อการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ แทนการไปเที่ยวชมที่เน้นไปทางวัตถุนิยม
ข้อสี่ เลือกการขนส่งสีเขียว (GREEN LOGISTIC) การเดินทางในประเทศและภายในพื้นที่ เลือกวิธีที่ประหยัดพลังงาน หรือใช้พลังงานทดแทน ลดพึ่งพาการใช้รถยนต์ให้น้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็ใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือใช้บริการรถไฟ หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเครื่องบิน
ข้อห้า สนับสนุนบริการสีเขียว (GREEN SERVICE) มองหาโรงแรมที่มีมาตรการประหยัดพลังงาน หรือมีระบบบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ให้ความร่วมมือกับโรงแรมด้วยการประหยัดน้ำ ไม่เปลี่ยนผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนทุกวัน
ข้อหก เยือนแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว (GREEN ATTRACTION) ให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการโดย คำนึงถึงเรื่องการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ หรือช่วยกันเป็นหูเป็นตาร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ที่ที่ไปเยือน
ข้อเจ็ด เพิ่มสีเขียวให้ธรรมชาติ (GREEN PLUS) หาโอกาสทำกิจกรรมคืนความเขียวขจีและความสมบูรณ์สู่สิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า เก็บขยะ และอื่น ๆ
ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. เป็นการดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูก ชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น
2. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
3. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
4. ได้เรียนรู้ หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากจะได้รับความพึงพอใจแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
2. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
3. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
4. ได้เรียนรู้ หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากจะได้รับความพึงพอใจแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
วิธีการเลือกสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม1. ได้รับสัญลักษณ์ใบไม้เขียว หรือได้รับ ISO 14001
2. มีมาตรการประหยัดพลังงานหรือมีระบบบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
3. มีการออกแบบที่กลมกลืนและรักษาธรรมชาติ
4. มีระบบบริหารจัดการขยะและระบบจัดการน้ำเสีย
5. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
6. ใช้วัตถุดิบหรือผลผลิตที่มีในท้องถิ่น
7. พักอาศัยอยู่กับชาวบ้านหากเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวในหมู่บ้านที่มีรูปแบบโฮมสเตย์
2. มีมาตรการประหยัดพลังงานหรือมีระบบบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
3. มีการออกแบบที่กลมกลืนและรักษาธรรมชาติ
4. มีระบบบริหารจัดการขยะและระบบจัดการน้ำเสีย
5. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
6. ใช้วัตถุดิบหรือผลผลิตที่มีในท้องถิ่น
7. พักอาศัยอยู่กับชาวบ้านหากเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวในหมู่บ้านที่มีรูปแบบโฮมสเตย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น