Blogger นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อใช้ในการเรียน และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่เรียน และจัดทำเป็นBlogger เพื่อใช้ในการเรียนวิชาฮินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554


ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
     งานอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่มุ่งจะรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพที่เหมาะสม เกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นงานที่ป้องกันมิให้โรคหรือพิษภัยเข้าสู่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคหรือสารที่เป็นพิษ
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ
     1.การจัดหาน้ำสะอาด น้ำประปา
     2. การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำนี้ หมายถึง การที่ต้องป้องกันควบคุมรักษาแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลองบึง แม่น้ำต่าง ๆ ตลอดจนน้ำใต้ดิน ไม่ให้คุณภาพเสื่อมโทรมลงจนเกิดเป็นมลพิษ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
     3. การจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง การจัดการนี้รวมถึงการเก็บ การขนถ่ายและการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล ของเสียในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เพราะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและพาหะนำโรค
     4. การควบคุมสัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ สัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ ต่างเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงหลายอย่างมาสู่คน และยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดเหตุรำคาญและทำลาย ทรัพย์สิน โรคสำคัญ ๆ ที่เห็นได้ชัด เช่น อหิวาห์ตกโรค ไข้มาลาเรีย เป็นต้น
     5. มลพิษของดิน มักจะเกิดขึ้นจากการทิ้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ลงสู่พื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเน่าเสีย ของทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความสกปรกบนพื้นดิน และเมื่อความสกปรกมีมากขึ้น ก็กลายเป็นมลพิษของดินทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การควบคุมการทิ้งสิ่งต่าง ๆ เหล่า นี้
     6. การสุขาภิบาลอาหาร เชื้อโรคต่าง ๆ และสารพิษหลาย ๆ อย่างสามารถที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยทางอาหาร การสุขาภิบาลอาหารจึงมีความจำเป็นในหลาย ๆ ส่วน เช่น สิ่งที่จะใช้ปรุงอาหาร การปรุงอาหาร การเก็บรักษา ผู้สัมผัสอาหารและอื่น ๆ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคอีกด้วย
     7.การควบคุมมลพิษทางอากาศ  เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่อากาศในปริมาณมากจนก่อให้เกิดเป็นพิษภัยต่อมนุษย์ สัตว์พืช
     8. การป้องกันอันตรายจากรังสี ได้มีการใช้รังสีอย่างมากมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุกทางเช่น ทางการเกษตรกรรม ทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งรังสีต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าไม่ได้มีการป้องกันและควบคุมอย่างรัดกุมแล้ว ก็จะทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์
     9. อาชีวอนามัย เป็นการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีเหมาะสม ตลอดจนการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพและอื่น ๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
     10. การควบคุมมลพิษทางเสียง การควบคุมมิให้เกิดมีเสียงดังมาก หรือเกิดเสียงดังเป็นเวลายาวนาน จนเกิดเป็นของเสียต่อสุขภาพอนามัย
     11. ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การจัดให้ที่อยู่อาศัยและจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะอันทำให้มีสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิตดี
     12. การวางผังเมือง การจัดให้ส่วนต่าง ๆ ของเมืองให้ถูกต้องเป็นสัดส่วน เช่น ย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่พักอาศัย ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และความสะดวกสบายต่าง ๆ ด้วย เช่น การจราจรที่ไม่ติดขัด
     13.งานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม
     14.การป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ
     15. การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พักผ่อนและสิ่งที่ใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ จะต้องมีคุณลักษณะคุณภาพที่จะส่งเสริมให้สุขภาพอนามัยดี มิใช่เป็นการทำให้สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม หรือเป็นแหล่งแพร่กระจายโรค การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
     16. การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
     17. มาตรการป้องกันเพื่อให้สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปปราศจากความเสี่ยง หรืออันตรายใด ๆ
     ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวมเอาโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมของหลายประเทศในโลกผนวกกันได้เป็น 17 รายการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาของสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้น ๆ ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างไรในบท ต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึงการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในการใช้แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในประเทศกำลังพัฒนา




ความหมายของการอนามัยสิ่งแวดล้อม




อนามัย ตามความหมายที่องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ การมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดีซึ่งไม่เพียงปราศจากโรค หรือไม่แข็งแรงทุพพลภาพเท่านั้น ” (Health is defined as a state complete physical, mental and social well-being and merely the absence of disease infirmity)

อนามัย ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ . ศ .2530 คือ “ ความไม่มีโรค ถูกหลักสุขภาพหรือมีสุขภาพดี ” ซึ่งคำว่า “ สุขภาพ ” หมายถึง “ ความสุขปราศจากโรค ความสบาย ”

“ โรค ” หรือ “ ความไม่สบาย ” คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย เนื่องจากเกิดการทำงานผิดปกติในองค์ประกอบของร่างกาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่สบายหรือแสดงอาการว่า ไม่สบายออกมาให้เห็น เช่น รู้สึกหนาวร้อน เป็นไข้ หรือแสดงอาการสั่น ไอ หรือ ชัก เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกและอาการผิดปกตินี้จะไม่มีในคนปกติธรรมดาที่สบายดีหรือไม่มีโรค


การสุขาภิบาล , การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม , อนามัยสิ่งแวดล้อม
“ สุขาภิบาล ” มาจากคำว่า สุข + อภิบาล ซึ่ง “ สุข ” นั้นมีความหมายว่า “ สบาย ” อภิบาลมีความหมายว่า “ บำรุงรักษา ” สุขาภิบาลหมายถึงการระวังรักษา เพื่อความสุขปราศจากโรค

การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หมายถึง การควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมดของมนุษย์ที่กระทำหรืออาจกระทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาการทางด้านสุขภาพร่างกายและการมีชีวิตอยู่รอดของมนุษย์ อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี อนามัยมิได้ หมายถึง แต่เพียงปราศจากโรคเท่านั้น

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจับต้องได้มองเห็นได้ อาจแบ่งได้เป็น “ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ ” เช่น ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ รวมถึง มนุษย์ด้วยกัน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ และ “ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ” เช่น อาคารบ้านเรือน ยานพาหนะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม เช่น วัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมือง ฯลฯ

ดังนั้น อนามัยสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง “ ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพอนามัยของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ” ฉะนั้นสุขภาพอนามัยของมนุษย์ก็ย่อมได้รับผลจากคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมมีสภาพเสื่อมโทรมเกิดเป็นมลพิษขึ้น


ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของเมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา

น้ำเสียจากกองขยะ ( Leachate ) มีความสกปรกสูง มีสภาพเป็นกรด มีเชื้อโรค หากน้ำจากขยะรั่ว ไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นผลให้เกิดอันตรายและเกิดมลพิษในบริเวณที่ปนเปื้อน ดังในแหล่งทิ้งขยะของเทศบาลต่าง ๆ ที่เอาขยะไปเทกองไว้เป็นภูเขาขยะ น้ำจากขยะจะไหลซึมออกทางบริเวณข้างกอง ส่วนหนึ่งก็ซึมลงสู่ใต้ดิน ในที่สุดก็ไปปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านที่บริโภคน้ำ ถ้าน้ำจากกองขยะไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง ก็จะทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย ถ้าปนเปื้อนมากถึงขนาดก็จะทำให้สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด พืชน้ำ ตายได้ เพราะขาดออกซิเจน และขาดแสงแดดที่จะส่งผ่านน้ำ เนื่องจากน้ำมีสีดำ หากน้ำขยะมีการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของ ชุมชน ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น

ขยะมูลฝอยที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ กองขยะมูลฝอยขนาดมหึมาของเทศบาล จะเกิดการหมัก โดยจุลินทรีย์ในกองขยะจะเกิดก๊าซต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากไม่มีการกำจัดก๊าซเหล่านี้อย่างเหมาะสม ก๊าซที่เกิดขึ้นได้แก่ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า ) เป็นต้น และยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง

ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หลายประการดังต่อไปนี้ คือ

1. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรค
เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ เพราะขยะมูลฝอยมีทั้งความชื้นและสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร ขยะพวกอินทรีย์สารที่ทิ้งค้างไว้ จะเกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน นอกจากนั้นพวกขยะที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นที่อยู่อาศัยของหนู โดยหนูจะเข้ามาทำรังขยายพันธุ์ เพราะมีทั้งอาหารและที่หลบซ่อน ดังนั้นขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกำจัด จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของเชื้อโรค แมลงวัน หนู แมลงสาบ ซึ่งเป็นหาหะนำโรคมาสู่คน

2. เป็นบ่อเกิดของโรค
เนื่องจากการเก็บรวบรวมและการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ดี หรือปล่อยปละละเลยทำให้มีขยะมูลฝอยเหลือทิ้งค้างไว้ในชุมชน จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ เชื้อไทฟอยด์ เชื้อโรคเอดส์ ฯลฯ เป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น แมลงวัน แมลงสาบ และหนู เป็นต้น

3. ก่อให้เกิดความรำคาญ
ขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมได้ไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวน กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน นอกจากนั้นฝุ่นละอองที่เกิดจากการเก็บรวบรวมการขนถ่าย และการกำจัดขยะก็ยังคงเป็นเหตุรำคาญที่มักจะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในชุมชนอยู่เสมอ อีกทั้งอุดจาดตาน่าขยะแขยง

4. ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธี ปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชน เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเกิดเน่าเสียได้ และนอกจากนี้ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก ก็จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ในดินมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในดิน และสารอินทรีย์ในขยะ มูลฝอยเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน และเมื่อฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอยจะ ทำให้น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเปื้อนดินบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดมลพิษของดินได้ การปนเปื้อนของดิน ยังเกิดจากการนำมูลฝอยไปฝังกลบ หรือการยักยอกนำไปทิ้งทำให้ของเสียอันตรายปนเปื้อนในดิน ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันมีสารพิษทำให้คุณภาพของอากาศเสีย ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและพวกแก๊สหรือไอระเหย ที่สำคัญก็คือ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย และสลายตัวของอินทรีย์สารเป็นส่วนใหญ่

5. ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ
ขยะมูลฝอยที่ทิ้งและรวบรวมโดยขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมูลฝอยพวกของเสียอันตราย ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะ หรือได้รับสารพิษที่มากับของเสียอันตราย

6. เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ขยะมูลฝอยปริมาณมาก ๆ ย่อมต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผลกระทบจากขยะมูลฝอยไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย ดินปนเปื้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

7. ทำให้ขาดความสง่างาม
การเก็บขนและกำจัดที่ดีจะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันส่อแสดงถึงความเจริญและวัฒนธรรมของชุมชน ฉะนั้นหากเก็บขนไม่ดี ไม่หมด กำจัดไม่ดี ย่อมก่อให้เกิดความไม่น่าดู ขาดความสวยงาม บ้านเมืองสกปรก และความไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การกำจัดขยะมูลฝอย
เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม  การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง  ควรแยกให้เป็นประเภท  เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย  เศษแก้ว  เศษกระจก และของมีคมต่าง ๆ  ควรแยกต่างหาก  ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ   เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้  เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย  ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด  เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย
การขนย้ายได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก  ตามเมืองใหญ่และในเขตเทศบาล  จะมีรถไปเก็บขยะมูลฝอยถึงบ้าน  ในบางเขตจะมีถังรองรับขยะมูลฝอยตั้งไว้ริมถนน หรือตามบริเวณที่มีขยะมูลฝอยมาก  เช่น  ตามโรงเรียน  ตลาด  ศูนย์การค้า  ฯลฯ  เราควรผูกปากถุงให้เรียบร้อย  แล้วขนไปใส่ลงในถังรองรับที่จัดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ  เมื่อถังเต็มจะมีรถมาขนไปยังโรงงานเพื่อทำลายต่อไป
การกำจัดขยะมูลฝอย  มีหลายวิธี  เช่น  การเผากลางแจ้ง  การเทกองบนพื้นดิน  การนำไปทิ้งทะเล  แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง  เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์  ตัวอย่างเช่น  การเผากลางแจ้ง  ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ  การฝังกลบ  การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน

  
 

     การเผาขยะ
          สามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิด  เตาเผามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของขยะมูลฝอย  ถ้าเป็นประเภทที่ติดไฟง่าย  เราสามารถใช้เตาเผาชนิดที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงช่วย  แต่ถ้าขยะมูลฝอยมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50   เตาเผาขยะต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยในการเผาไหม้  การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย  ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้  เช่น  ขี้เถ้า  สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
     การฝังกลบ
        ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง  การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม  พื้นที่บางแห่งเมื่อถมเสร็จเรียบร้อย  อาจนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ  เช่น  ทำเป็นสวนหย่อม  สนามกีฬา  เป็นต้น
รูปโรงกำจัดขยะ
     การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน
        คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้
     การหมักทำปุ๋ย
        ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้  มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย  เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัว  ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว  จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน  เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์  จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
         ขยะมูลฝอยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันตามจำนวนประชากร  ถ้าเรามักง่าย  ไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง  จะเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา  กองขยะมูลฝอยเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก  นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น  ทำให้อากาศเป็นพิษ  ยังเป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค  เช่น  ยุง  แมลงวัน และหนู  เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอย่างดี  เราทุกคนจึงควรช่วยกันทิ้งขยะมูลฝอยให้เป็นระเบียบ  บ้านเมืองของเราจะได้สวยงาม  สะอาด  ร่มรื่น และไม่มีมลพิษ
         เศษกระดาษ  เศษถุงพลาสติก  เศษผัก  เศษอาหาร  ใบไม้  ซากสัตว์  รวมถึงวัตถุอื่น ๆ ที่มนุษย์ไม่ต้องการ  เรียกว่า  ขยะมูลฝอย  ขยะมูลฝอยเกิดจากกิจกรรมในบ้านเรือน  โรงงาน  โรงเรียน  ตลาด  ร้านค้า  ข้างถนน  บริเวณที่มีการก่อสร้าง และทุกแห่งที่มีมนุษย์อยู่  เป็นต้น
         ในบ้านของเราก็มีขยะมูลฝอย  ถ้าเราทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่เป็นทาง  บ้านก็จะสกปรก  ขาดความสวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อย  เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และยังมีกลิ่นเหม็นที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่อยู่อาศัยและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
         นอกจากนี้  กองขยะมูลฝอยยังเป็นแหล่งอาหาร  แหล่งเพาะพันธุ์ และเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ คือ เป็นพาหะนำโรค  เช่น  หนู  แมลงวัน  แมลงสาบและยุง  ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น คือ เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย
         การทิ้งขยะมูลฝอยให้เป็นที่เป็นทาง  คือทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะ  เช่น  ถังที่มีฝาปิด  ถ้าใช้ถุงพลาสติก  เมื่อเต็มแล้วต้องผูกปากถุงให้มิดชิดเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็น และป้องกันไม่ให้สัตว์คุ้ยเขี่ย ทั้งนี้จะช่วยป้องกันความสกปรก และอันตรายที่เกิดจากขยะมูลฝอย  เช่น  เศษแก้วบาดเท้า  การเก็บขยะมูลฝอยให้มิดชิด  ทำให้บ้านเมืองของเราสะอาดเป็นระเบียบ  สวยงามน่าอยู่อาศัย
         ขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์  เมื่อมนุษย์ทำสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้  ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหาร  จะมีเศษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการเหลือ  เช่น  เศษไม้เหลือจากการแกะสลัก  ถุงพลาสติกใส่ของที่ซื้อมา  กระดาษหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว และเศษอาหารเหลือจากการรับประทาน  เป็นต้น
         ขยะมูลฝอยที่กองหมักหมมเป็นสิ่งสกปรก  ส่งกลิ่นเน่าเหม็น  มีแมลงวันตอม  หนู  แมลงสาบ  มด และเชื้อโรคต่าง ๆ  อาศัยอยู่ในกองขยะมูลฝอย  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่เพาะพันธุ์ของมัน  การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนพื้นถนนหรือลงในแม่น้ำลำคลองนั้น  นอกจากจะทำให้บ้านเมืองดูไม่เป็นระเบียบแล้ว  ขยะมูลฝอยยังเป็นสิ่งกีดขวางการจราจรอีกด้วย  การทิ้งขยะมูลฝอยลงในลำน้ำจะทำให้ลำน้ำตื้นเขิน และน้ำไหลเวียนไม่สะดวก  ขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมาก  จะทำให้น้ำในลำคลองเน่าเสีย และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำและสัตว์น้ำที่อาศัยในแม่น้ำลำคลองนั้น
         กองขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งไว้นาน ๆ   จะเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณข้างเคียง  เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยบางชนิดมีน้ำหนักเบา  จะฟุ้งกระจายไปในอากาศ  ส่งกลิ่นเหม็น และฝุ่นที่เกิดจากเศษขยะทำให้คุณภาพอากาศเสียไปด้วย
         เมื่อเราเป็นผู้ที่ทำให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา  เราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด  ป้องกันอันตรายต่าง ๆ  ที่อาจเกิดขึ้นได้จากขยะมูลฝอย  การทิ้งขยะให้ถูกต้อง คือ ทิ้งขยะมูลฝอยในภาชนะที่จัดไว้สำหรับทิ้งขยะมูลฝอย  แล้วจัดการเผาหรือฝังเสีย  ในท้องที่ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ทางการเก็บขยะมูลฝอย  เราก็ควรใส่ขยะลงในถุงพลาสติกผูกปากให้แน่น หรือใส่ภาชนะที่แข็งแรง  เช่น  ถังที่ไม่รั่วซึม  มีฝาปิดมิดชิด  ไม่ควรใช้เข่ง  เพื่อที่พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย  จะได้นำไปกำจัดที่สถานที่กำจัดขยะได้สะดวก
ประเภทของขยะมูลฝอย
         ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย  ได้เป็น 10 ประเภท  ได้แก่
1.  ผักผลไม้ และเศษอาหาร  ได้แก่  เศษผัก  เศษผลไม้  เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค  เช่น  ข้าวสุก  เปลือกผลไม้  เนื้อสัตว์  ฯลฯ
2.  กระดาษ  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว  ถุงกระดาษ  กล่องกระดาษ  ฯลฯ
3.  พลาสติก  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก  เช่น  ถุงพลาสติก  ภาชนะพลาสติก  ของเล่นเด็ก  ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส  ฯลฯ
4.  ผ้า  ได้แก่  สิ่งทอต่าง ๆ  ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์  เช่น  ฝ้าย  ลินินขนสัตว์  ผ้าไนลอน  ได้แก่  เศษผ้า  ผ้าเช็ดมือ  ถุงเท้า  ผ้าขี้ริ้ว  ฯลฯ
5.  แก้ว  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว  เช่น  เศษกระจก  ขวด  หลอดไฟ  เครื่องแก้ว  ฯลฯ
6.  ไม้  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้  ไม้ไผ่  ฟาง  หญ้า  เศษไม้  เช่น  กล่องไม้เก้าอี้  โต๊ะ  เฟอร์นิเจอร์  เครื่องเรือน  ฯลฯ
7.  โลหะ  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ  เช่น  กระป๋อง  ตะปู  ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง  ฯลฯ
8.  หิน  กระเบื้อง  กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่  เศษหิน  เปลือกหอย  เศษกระดูกสัตว์เช่น  ก้างปลา  เครื่องปั้นดินเผา  เปลือกหอย  กุ้ง  ปู  เครื่องเคลือบ  ฯลฯ
9.  ยางและหนัง  ได้แก่  วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง  เช่น  รองเท้า  กระเป๋าลูกบอล  ฯลฯ
10.  วัสดุอื่น ๆ  ได้แก่  วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ  ข้างต้นhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/garbet/garbetn.htm
ขยะมูลฝอย

      ในเมืองใหญ่  เราจะเห็นบางถนนสะอาด  มีกระถางดอกไม้  ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง  แต่บางถนนสกปรก  มีถุงใส่เศษอาหาร  เปลือกผลไม้  ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน  ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ  เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาด  มีปลาว่ายไปมาในน้ำ  บางตอนสกปรก  มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป  น้ำมีสีดำ  ส่งกลิ่นเน่าเหม็น  เป็นที่น่ารังเกียจ
เศษอาหาร  ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว  เศษผ้า  ใบไม้ร่วง  เรียกรวมว่า  ขยะมูลฝอย  ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง  จะสร้างความสกปรก  ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน  เช่น  จำพวกเศษอาหาร  นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว  ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู  เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา  ขยะมูลฝอยที่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง  จะแพร่เชื้อโรคลงในน้ำ  ถ้าผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำ  ใช้น้ำนั้นดื่มหรืออาบ  อาจจะเป็นโรคท้องร่วงหรือโรคผิวหนังได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด  ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด  ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน  ควรรวบรวมใส่ถุง  เพื่อส่งให้รถเก็บขยะต่อไป
เราสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้โดยการขุดหลุมฝัง  เผาไฟ หรือขายต่อ ขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหาร  อาจใช้วิธีขุดหลุมฝังใกล้โคนต้นไม้  แล้วกลบด้วยดิน  เศษอาหารจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยต่อไปขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้  เช่น  เศษกระดาษ  ใบไม้แห้ง  อาจใช้วิธีเผาไฟ ขยะมูลฝอยบางจำพวกที่ยังมีประโยชน์  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์  ขวดแก้วที่ไม่แตกหรือของใช้พลาสติกต่าง ๆ  อาจรวบรวมไว้ขายได้

รูปขยะ
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา  มีของที่หมดประโยชน์ใช้สอย  หมดคุณภาพหรือชำรุดแตกหักมากมาย  สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัสดุชิ้นเล็ก ๆ  เช่น  เศษกระดาษ  เศษอาหาร  เศษผ้า  แก้วแตก  หลอดไฟที่เสียแล้ว หรือวัสดุชิ้นใหญ่ ๆ  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้ที่ชำรุดหักพัง  พัดลมหรือตู้เย็นที่เสียใช้การไม่ได้  เรียกว่า  ขยะมูลฝอย  ทั้งสิ้น  เราพบขยะมูลฝอยได้ตามบ้านเรือนที่พักอาศัย  ร้านค้า  ตลาด  โรงเรียน  โรงพยาบาล  ตามท้องถนน และในแม่น้ำลำคลองทั่วไป  ขยะมูลฝอยเหล่านี้  ถ้าทิ้งกระจัดกระจาย  ไม่เป็นที่เป็นทาง  จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ  ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น  รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย

        ขยะมูลฝอยแยกออกเป็น 5 ประเภท  ได้แก่
            1.  เศษอาหารและพืชผัก  ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร
            2.  เศษแก้วแตก  กระเบื้องแตก  เศษวัสดุก่อสร้าง  เช่น  ไม้  อิฐ  หิน และอื่น ๆ
            3.  วัสดุชิ้นใหญ่  เช่น  รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้  ฯลฯ
            4.  วัสดุที่มีสารพิษ  เช่น  หลอดไฟ  หลอดนีออน  แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้  วัสดุติดเชื้อ
ต่าง ๆ  เช่น  ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน  เป็นต้น
            5.  วัสดุที่ยังมีสภาพดี  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์  กล่องกระดาษ  ขวดที่ไม่แตก  ขยะมูล
ฝอยประเภทนี้  อาจนำไปขายต่อได้

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ป่าไม้ คือ ชีวิต



          ป่าไม้ (Forest) หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและ
กว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
Allen (1950) ได้ให้คำจำกัดความของป่าไม้ไว้ดังนี้ "ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้และ
สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่มีการใช้ประโยชน์จาก
อากาศ น้ำ และวัตถุแร่ธาตุต่างๆ ในดินเพื่อการเจริญเติบโตจนถึงอายุขัยและมีการสืบพันธุ์ของ
ตนเอง ทั้งให้ผลผลิตและบริการที่จำเป็นอันจะขาดเสียมิได้ต่อมนุษย์" (นิวัติ เรืองพานิช,2528 : 94)
"ป่าไม " เป็นศูนย์รวมของสรรพชีวิต เป็นที่ก่อกำเนิดสายน้ำ ชีวิตพืชและสัตว์ที่หลากหลาย
อีกทั้ง เป็นที่พึ่งพิงและให้ประโยชน์แก่มนุษย์มาแต่โบราณกาล เพราะป่าไม้ช่วยรักษาสมดุลของ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศ กำบังลมพายุ ป้องกันบรรเทาอุทกภัย ป้องกัน
การพังทลายของหน้าดิน เป็นเสมือนเขื่อนธรรมชาติที่ป้องกันการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง เป็น
แหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นโรงงานผลิตออกซิเจนขนาดใหญ่ เป็นคลังอาหาร
และยาสมุนไพร และป่าไม้ยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์
นอกจากนี้ ในผืนป่ายังมีสัตว์ป่านานาชนิดซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในหลาย
ลักษณะ ได้แก่ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ เช่น การควบคุมปริมาณสัตว์ป่าให้อยู่ในภาวะสมดุล
การช่วยแพร่พันธุ์พืช การควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นปุ๋ยให้กับดินในป่า เป็นต้น การเป็นแหล่ง
พันธุกรรมที่หลากหลาย การเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์อื่น และการสร้างรายได้ให้แก่มนุษย์
เช่น การทำการค้าจากชิ้นส่วนต่างๆ ของสัตว์ป่า การจำหน่ายสัตว์ป่า และการเปิดให้บริการเข้าชม
สวนสัตว์ เป็นต้น ดังนั้น จึงนับว่าป่าไม้ให้คุณประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่มวลมนุษย์เป็น
อย่างมากมาย
ความสำคัญและประโยชน์ของป่าไม้
1.เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของวัฏจักร น้ำ ออกซิเจน คาร์บอนและไนโตรเจนใน
ระบบนิเวศ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งระบบด้วยการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุและสสารใน
ระบบนิเวศ
2.ป่าช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อฝนตกน้ำฝนบางส่วนจะถูกต้นไม้ในป่าดูดซับไว้
แล้วค่อยๆ ปลดปล่อยให้ไหลลงสู่ผิวดิน อีกส่วนหนึ่งจะซึมลงสู่ดินชั้นล่าง สามารถลดการพังทลาย
ของดินได้ ลดการกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมฉับพลันและสามารถ
ลดความรุนแรงของการเกิดภาวะน้ำท่วม เนื่องจากต้นไม้ช่วยชะลอการไหลของน้ำบนผิวหน้าดิน
และการมีป่าไม้ปกคลุมดินจะช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ดีกว่าปลูกพืชชนิดอื่น ๆ
3.ช่วยปรับสภาพบรรยากาศ เนื่องจากป่าไม้ช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินไว้ ร่มเงาของ
ป่าช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ตกกระทบผิวดินโดยตรง บริเวณป่าไม้จะมีน้ำที่เกิด
จากการระเหยจากใบและลำต้น กลายเป็นไอน้ำในอากาศจำนวนมาก อากาศเหนือป่าไม้จึงมี
ความชื้นมาก เมื่ออุณหภูมิอากาศลดลง ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกิดเป็นเมฆจำนวนมาก สุดท้าย
ก่อให้เกิดฝนตกลงมาในป่าที่มีต้นไม้หนาแน่นและส่งผลให้พื้นที่ใกล้เคียงได้รับน้ำฝน และทำให้
สภาพอากาศที่ชุ่มชื้นแม้กระทั่งในฤดูร้อน ดังนั้นพื้นที่ที่มีป่าไม้มาก เช่น เขาใหญ่ ดอนอินทนนท์
ภูกระดึง เขาหลวง จะเห็นว่ามีเมฆปกคลุมอยู่บนภูเขาและจะมีฝนตกมากกว่าบริเวณข้างล่าง
4.ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ในบริเวณที่ป่าไม้มีความสมบูรณ์ต้นไม้มีรากลึกและชอนไช
อยู่ในดิน อินทรีย์วัตถุจากต้นไม้และสัตว์ป่าจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้มีรูพรุนที่สามารถเก็บ
กักน้ำได้ดี น้ำฝนที่ผ่านต้นไม้จะลงสู่ดินในแนวดิ่งแล้วค่อยๆ ไหลซึมกระจายไปตามรากที่แตก
แขนงออกไปตามอนุภาคดิน รูพรุนที่อยู่ในดินเฉพาะรูพรุนขนาดเล็กในเม็ดดินนั้นสามารถกักเก็บ
น้ำได้มากกว่า น้ำหนักของเม็ดดินแห้งถึง 3-10 เท่า และน้ำที่กักเก็บไว้นั้น จะค่อยๆ ปลดปล่อยสู่ชั้น
น้ำใต้ดินเพื่อลงสู่แหล่งน้ำลำธาร ป่าจึงเปรียบได้ กับฟองน้ำขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ เป็นแหล่งกักเก็บ
น้ำตามธรรมชาติ ถ้าป่าเกิดในที่สูง น้ำที่กักเก็บไว้จะค่อยๆ ซึมลงมารวมกันตามหุบเขา เกิดธารน้ำ
เล็กๆ มากมาย และกำเนิดแม่น้ำลำธารที่สามารถมีน้ำใช้ได้ ทุกฤดูกาล เป็นต้น
5.ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยสี่ ป่าไม้เป็นแหล่งผลิต/ผู้ผลิต ปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพของ
มนุษย์ เมือง/ชุมชนเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่สำคัญและหาสิ่งอื่นมาทดแทนมิได้ ป่าไม้มี
ความผูกพันต่อความเป็นอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การนำไม้มาใช้ใน การก่อสร้างบ้านเรือน
ที่อยู่อาศัย เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร ซึ่งในเรื่องอาหารมนุษย์
ได้รับจากป่าโดยตรง เช่น ได้ส่วนของผล เมล็ด ใบ ดอก ลำต้นเป็นอาหาร และได้รับน้ำผึ้ง หรือ
เนื้อสัตว์ป่าโดยทางอ้อม สมุนไพรหรือยาแผนโบราณที่ใช้รักษาโรค ส่วนใหญ่ได้มาจากผลิตภัณฑ์
ของป่าไม้ ได้มีการนำสมุนไพรจากป่ามาดัดแปลง สกัดเอาส่วนที่สำคัญ จากเปลือก ดอก ผล เมล็ด
ราก นำมาใช้ในการผลิตยารักษาโรคที่ออกมาในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ หรือแคปซูล เช่น เปลือกต้นซิง
โคน่า นำมาสกัดทำยาควินินเพื่อรักษาโรค มาลาเรีย
6.เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ป่าไม้จัดว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหลบภัยที่สำคัญที่สุดของ
สัตว์ป่า ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อมนุษย์ เช่น เป็นอาหาร ยารักษาโรค ช่วยขจัดแมลงและ
ประดับป่าไม้ให้เกิดความงดงาม การทำลายพื้นที่ป่าจึงเสมือนทำลายสัตว์ป่าด้วย
7.เป็นแนวป้องกันลมพายุ เมื่อลมพายุพัดมาปะทะพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางความเร็ว
และลมพายุจะลดลง ดังนั้นลมพายุที่พัดผ่านแนวป่าไม้จะมีความเร็วน้อยกว่าพัดผ่านที่โล่งแจ้ง ช่วย
ลดความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง ป่าไม้จึงเป็นกำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันความรุนแรงของลม
พายุได้
8.ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติของป่าไม้จะเต็มไปด้วยสีสัน ความเขียวชอุ่ม ร่มเย็น
ก่อให้เกิดความสบายตาเมื่อพบเห็น ความสดสวยงดงามของดอกไม้ ความชุ่มชื้น น้ำในลำธารที่ใส
สะอาด ความเงียบสงบจากเสียงรบกวนของชุมชน ความน่าชมและน่ารักของสัตว์ป่า ทำให้เขตป่า
ไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในช่วงวันหยุดต่างๆ จะพบเห็น
ประชาชนทั้งในท้องถิ่นและในเมืองจำนวนมากเดินทางไปเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจในเขตอุทยาน
แห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนป่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ป่าไม้จึงเป็น
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างหนึ่งไปด้วย
9.ช่วยลดมลพิษทางอากาศ เนื่องจากป่าไม้เป็นตัวช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ
นำไปใช้ในการสังเคราะห์อาหาร แล้วปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนมาให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลก
สมดุลระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในอากาศจึงเกิดขึ้น และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ว่า พืชในตระกูลสูงสามารถดูดกลืนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ แล้วเปลี่ยนแปลงให้เป็นก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยออกสู่บรรยากาศแล้วจึงดึงกลับมาใช้ในการสังเคราะห์อาหารในเวลา
กลางวัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าต้นไม้มีประโยชน์มากในการช่วยกำจัดคาร์บอนมอนอกไซด์และ
คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีแต่ป่าคอนกรีตและไม่ค่อยมีต้นไม้ อากาศ
ในเมืองจึงมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง การปลูกต้นไม้มากๆ จะช่วยลดปริมาณก๊าซทั้งสอง
ชนิดนี้ลงได้
เนื่องจากป่าไม้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างมาก หากป่าไม้
เสื่อมถอยไป ย่อมเป็นบ่อเกิดความทุกข์ยากแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์อย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ ดังนั้นเราควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์และหวงแหนป่าไม้ที่เหลืออยู่ ให้อยู่คู่กับมนุษย์และ
สิ่งมีชีวิตตลอดนานเท่านาน

อ้างอิง
http://www.environnet.in.th/evdb/info/forest/forest10.html
http://www.environnet.in.th/evdb/info/forest/forest2.html
http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority1.htm

วิธีอนุรักษ์พลังงานในอาคาร





วิธีอนุรักษ์พลังงานในอาคาร อาคารอนุรักษ์พลังงานต้นแบบ ไทยและต่างประเทศ

การอนุรักษ์พลังงานในอาคารคืออะไร การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร คือการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย




การอนุรักษ์พลังงาน เป็นวัตถุประสงค์หลักภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายคือ อาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูล บุคลากร แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ ยังใช้เป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น




ผู้ที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้และมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามพระราช บัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 นั้น จะถูกเรียกว่า "อาคารควบคุม" หรือ "โรงงานควบคุม" แล้วแต่กรณี โดยจะเน้นไปที่อาคารและโรงงานที่มีการใช้พลังงานในปริมาณที่มากและมีศักยภาพ ในการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะประกาศออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมมาใช้บังคับอาคารหรือโรงงานจะเข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมนั้น จะต้องมีลักษณะการใช้พลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้




1. ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายไฟฟ้าให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตตขึ้นไปหรือติดตั้งหม้อแปลงตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมี ขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือ

2.มีการใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อน จากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปี ที่ผ่านมามีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้าน เมกะจูนขึ้นไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://www2.dede.go.th/bhrd/displaycenter/index.php





วิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบริเวณที่ตั้งอาคาร และกรอบอาคาร ประสิทธิภาพของระบบและการควบคุม การบริหารหรือการจัดการด้านพลังงาน ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1. การลดความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร

2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร

3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ

4. การให้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การใช้และการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร

6. การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

1. ทำลิงค์ไปที่ file : Bay38 Building Features.pdf

2. http://www.2e-building.com/detail.php?id=40





อาคารอนุรักษ์พลังงานต้นแบบไทยและต่างประเทศ

จากวิกฤติปัญหาโลกร้อนทำให้ปัจจุบันประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้ในอนาคตแนวโน้มของการออกแบบอาคารจะมุ่งเน้นไปที่อาคารอนุรักษ์พลังงาน หรืออาคารเขียวกันมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อาคารที่สร้างเสร็จแล้วจะมีการประหยัดพลังงานหรือประหยัดทรัพยากรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมบริเวณรอบอาคารให้ร่มรื่น เย็นสบาย การเลือกรูปทรงอาคาร และการใช้ประโยชน์จากปัจจัยธรรมชาติให้เกิดการประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง รวมถึงการใช้ระบบและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งหากท่านกำลังจะสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงอาคารเดิมที่มีอยู่แล้วและกำลังมองหาตัวอย่างอาคารต้นแบบก็มีหลายอาคารที่จะเป็นที่ดีให้กับท่านได้ เช่น

1. อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ





อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระ เกียรติ เป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้งานขนาด14,000 ตารางเมตร ที่เน้นแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์พลังงานซึ่งได้รับการออกแบบอย่างเป็น เอกลักษณ์อันโดดเด่น มีความน่าสนใจในด้านถาปัตยกรรมที่สามารถจูงใจให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยว ข้องไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก วิศวกร เจ้าของอาคาร ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้หันมาอนุรักษ์พลังงาน อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติเป็นอาคารตัวอย่างที่ผุ้สนใจสามารถมา ศึกษา สัมผัสจับต้องได้ เพื่อพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆ ที่นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบว่าสามารถปฏิบัติได้จริง

http://www2.dede.go.th/bhrd/displaycenter/





2. อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์

“สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาองค์การให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางด้านพลังงาน มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นแหล่งวิจัย ค้นคว้า และให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อสร้างประโยชน์ต่อประเทศ


http://www.erdi.or.th/index.php?r=content/index&id=23





3. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้รับการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทันสมัย และสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ด้วยการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผสมผสานธรรมชาติเข้ากับการออกแบบ ได้อย่างลงตัว ตอบสนองความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงาน และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความเหมาะสม ขณะเดียวกันก็สามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ทั้งระหว่างหน่วยงานเอง และระหว่างหน่วยงานกับประชาชนได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญคืออาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน สนับสนุนการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตลอดจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วนของการออกแบบและการใช้ระบบ Co-Generation ด้วย

http://www.governmentcomplex.com





4. Energy Complex อาคารประหยัดพลังงานแห่งใหม่ของกลุ่ม ปตท.

ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัทปตท. ได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารยั่งยืน และมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมเน้นไปที่เรื่องของการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงานเป็นสำคัญ

http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=146&cno=52








5. อาคารพลังงานศูนย์ที่สิงคโปร์

วงการสถาปนิกสิงคโปร์ถือว่าอาคารนี้เป็นตัวอย่างของอาคารระดับชั้นยอดด้านประหยัดพลังงาน อีกทั้งเป็นอาคารเชิงทดสอบทดลอง โดยมีการนำเทคโนโลยีด้านประหยัดพลังงานเกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้สร้างอาคารหลังนี้ ทั้งนี้สถาปนิกผู้ออกแบบเน้นให้อาคารใช้พลังงานจากธรรมชาติโดยตรงให้มากที่สุด มาดูกันว่าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้าง หรือแค่การโกหกคำโตเพื่อสร้างภาพให้ดูดี หรือประเทศสิงคโปร์ทำเรื่องนี้ได้สำเร็จไปแล้วจริงๆกันแน่http://www.archthai.com/home/index.php?/bca.html



6. อาคารมหาวิทยาลัย Yale ประเทศสหรัฐอเมริกา

Sun and rain harvesting hall for Yale University. อาคารนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งประหยัดพลังงานถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 62% และหลังคาสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้เองได้ถึง 26% และ อีก 74% ซื้อจากของนอกมาใช้


http://www.tawiset.kku.ac.th/file_news/news20090907-1.html





7. อาคาร The Chicago Spire แห่งนครชิคาโก้


The Chicago Spire เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ที่ได้รับมาตรฐาน Gold standard of LEED certification ว่าเป็นอาคารสีเขียว ที่มีระบบจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี บรรยากาศภายนอกได้ เรียกว่า Ornithologically-sensitive glass ซึ่งช่วยลดภาวะที่จะกระทบต่อนกอพยพ องค์ประกอบต่างๆทำให้อาคารสามารถลดการใช้พลังานปรกติได้มากถึง 15% จากรูปแบบปรกติ ที่สังเกตได้ชัดเจนคือ การร่นแนวแกนอาคาร ให้เข้าไปอยู่ด้านในวงแหวน ทำให้มีเนื้อที่รับแสงได้อย่างเต็มที่ จนแทบไม่มีผนังปูนด้านนอกตัวอาคารเลย นอกจากนั้น The Chicago Spire ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ติดทะเลสาบชิคาโก้ นำน้ำมาใช้ในระบบทำความเย็นให้แก่ตัวตึก ในส่วนของน้ำฝนนั้น นำมาใช้ดูแลสวนและต้นไม้ ที่จอดรถในชั้นใต้ดิน ใช้ระบบทำความร้อนจากใต้ดิน ในส่วนของน้ำใช้ มีระบบการรีไซค์เคิล และบำบัดก่อนปล่อยสู่ระบบระบายน้ำ เริ่มต้นก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ปี 2007 คาดว่า สามารถเปิดให้เข้าใช้อาคารได้ในปี 2011

http://en.wikipedia.org/wiki/Chicago_Spire